เมนู

[

อรรถาธิบายสังขาตศัพท์ลงในอรรถตติยาวิภัตติ

]
ในบทว่า เถยฺยสงฺขาตํ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :- โจร ชื่อว่า ขโมย.
ความเป็นแห่งขโมย ชื่อว่า เถยฺยํ. บทว่า เถยฺยํ นี้ เป็นชื่อแห่งจิตคิดจะลัก.
สองบทว่า สงฺขา สงฺขาตํ นั้น โดยเนื้อความก็เป็นอันเดียวกัน. บทว่า
สงฺขาตํ นั้น เป็นชื่อแห่งส่วน เหมือนสังขาตศัพท์ในอุทาหรณ์ทั้งหลายว่า
ก็ส่วนแห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้าทั้งหลาย มีสัญญาเป็นเหตุ ดังนี้เป็นต้น. ส่วน
นั้นด้วยความเป็นขโมยด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เถยฺยสงฺขาตํ. อธิบายว่า
ส่วนแห่งจิตดวงหนึ่งซึ่งเป็นส่วนแห่งจิตเป็นขโมย. ก็คำว่า เถยฺยสงฺขาตํ นี้
เป็นปฐมาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ ; เพราะฉะนั้นบัณฑิตพึงเห็น
โดยเนื้อความว่า เถยฺยสงฺขาเตน แปลว่า ด้วยส่วนแห่งความเป็นขโมย ดังนี้.
ก็ภิกษุใด ย่อมถือเอา (ทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้) ด้วยส่วนแห่งความ
เป็นขโมย, ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้มีจิตแห่งความเป็นขโมย ; เพราะฉะนั้น เพื่อ
ไม่คำนึงถึงพยัญชนะแสดงเฉพาะแต่ใจความเท่านั้น พึงทราบว่า พระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสบทภาชนะแห่งบทว่า เถยฺยสงฺขาตํ นั้นไว้อย่างนี้ว่า ผู้มีจิต
แห่งความเป็นขโมย คือ ผู้มีจิตคิดลัก ดังนี้.

[

อรรถาธิบายบทมาติกา 6 บท

]
ก็ในคำว่า อาทิเยยฺย ฯ เป ฯ สงฺเกตํ วีตินาเมยฺย นี้ บัณฑิต
พึงทราบว่า บทแรกพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจการตู่เอา, บทที่ 2
ตรัสด้วยอำนาจแห่งภิกษุผู้นำเอาทรัพย์ของบุคคลเหล่าอื่นไป, บทที่ 3 ตรัส
ด้วยอำนาจแห่งทรัพย์ที่เขาฝังไว้, บทที่ 4 ตรัสด้วยอำนาจแห่งทรัพย์ที่มี
วิญญาณ, บทที่ 5 ตรัสด้วยอำนาจแห่งทรัพย์ที่เขาเก็บไว้บนบกเป็นต้น, บทที่
6 ตรัสด้วยอำนาจแห่งความกำหนดหมาย หรือด้วยอำนาจแห่งด่านภาษี.